การเทน้ำลงในภาชนะที่เหมือนกันสองใบ

อุปกรณ์       

  • เหยือกขนาดใหญ่ 1 ใบ
  • เหยือกขนาดเล็กที่มีลักษณะเหมือนกัน 2 ใบ(ควรมีปริมาตร ครึ่งหนึ่งของเหยือกอันใหญ่)
  • ฟองน้ำ
  • ถาด

จุดประสงค์โดยตรง        

เพื่อฝึกให้เด็กสามารถรินน้ำจากเหยือกใหญ่ไปสู่เหยือกเล็กได้

จุดประสงค์ทางอ้อม      

  • เพื่อสาธิตให้เด็กเห็นวิธีการกะปริมาณน้ำ 
  • เพื่อพัฒนาการทำงานประสานสัมพันธ์ของมือและตา
  • เพื่อพัฒนาทักษะและความชำนาญของกล้ามเนื้อต่างๆ
  • เพื่อฝึกสมาธิ
  • เพื่อให้เด็กมีความเป็นตัวของตัวเอง และมีความมั่นใจในตนเอง
  • เพื่อให้เด็กเกิดความมีระเบียบวินัย

กลไกควบคุมความผิดพลาด  

ฟองน้ำ

คำศัพท์ที่ได้      

ใหญ่กว่า, เล็กกว่า ,ครึ่ง, แบ่งเป็น ,ฟองน้ำ

ระดับอายุ         

3 ¾ ปี ขึ้นไป

การแนะนำ     

กิจกรรมนี้เป็นการแนะนำรายบุคคล

  • ชักชวนเด็กไปที่ชั้นวางสื่อ เพื่อแนะนำให้เด็กรู้จักกิจกรรมและที่เก็บ
  • สาธิตการยกถาดอุปกรณ์ไปยังโต๊ะที่จะทำงาน แล้วนั่งลงข้างๆ เด็ก ทางฝั่งที่เด็กถนัด
  • กล่าวกับเด็กว่า “นี่คือวิธีการเทน้ำลงในถาชนะใบเล็ก ดูครูก่อน แล้วเดี๋ยวครูจะให้ลองทำ”
  • จากนั้นใช้มือข้างที่ถนัดจับหูเหยือก โดยสอดนิ้วชี้และนิ้วกลางเข้าในหูจับ และนิ้วหัวแม่มือวางไว้บนขอบของหูจับ
  • ยกเหยือกขึ้นจนพ้นขอบปากของภาชนะใบเล็กที่จะเทลง
  • เอียงเหยือกแล้วรินน้ำครึ่งหนึ่งลงในภาชนะใบแรก

หมายเหตุ:

อาจทำเครื่องหมายขีดบอกระดับไว้ด้านนอกภาชนะทั้งสองใบ

  • ยกปากเหยือกขึ้น ย้ายไปที่ภาชนะอีกใบหนึ่ง เอียงเหยือก แล้วรินน้ำที่เหลือทั้งหมดลงไปอย่างช้าๆ
  • ยกเหยือกขึ้นแล้ววางกลับไว้ที่เดิมในถาด
  • ตรวจดูรอบๆถาดว่ามีน้ำหกหรือไม่
  • หากมีน้ำหยด ให้ใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มืของมือข้างที่ถนัดหยิบฟองน้ำขึ้นมา เพื่อซับน้ำเบาๆทีละด้าน
  • เลื่อนถาดไปด้านหน้าเด็กแล้วชักชวนให้เด็กลองทำ
  • หากเด็กทำเสร็จแล้ว และไม่ต้องการทำอีก แนะนำเด็กให้นำอุปกรณ์กลับไปเก็บไว้ที่เดิม

แบบฝึก         

ปล่อยให้เด็กทำกิจกรรมต่อไปเรื่อยๆหากเด็กต้องการ

จุดสำคัญ         

พยายามกะปริมาณให้ถูก

อื่นๆ        

  • ใช้ชุดเหยือกที่มีขนาดและน้ำหนักที่หลากหลาย
  • ใช้น้ำสี

ขั้นต่อไป  

  • ใช้ภาชนะสามใบ
  • ใช้ภาชนะที่เล็กลง เช่น ถ้วยวางไข่